กำแพงกันดิน

กำแพงกันดิน
จากปัญหาฝนตกหนักและดินถล่มทางภาคใต้ของประเทศ ทำให้หลายคนอาจได้ยินคำว่า “กำแพงกันดิน” กันมากขึ้น หลายคนคงรู้แล้วกำแพงกันดินสามารถป้องกันการสไลด์ตัวของหน้าดินได้ แต่เชื่อว่าอีกหลายคนคงไม่เข้าใจว่ากำแพงกันดินจะสามารถป้องกันดินถล่มซึ่งมีความรุนแรงมากได้อย่างไร ลองไปศึกษากันหน่อยดีไหมครับ

กำแพงกันดิน (Retaining Wall) คือ กำแพงที่ใช้ต้านทานแรงดันทางด้านข้าง ของดินหรือของไหล เช่น น้ำ และต้านทานแรงจากน้ำหนักกดทับจากผิวบน เช่น น้ำหนักของยวดยานพาหนะ บางครั้งยังทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำใต้ดินซึมเข้าสู่ชั้นใต้ดินของอาคาร


กำแพงกันดินมีหลากหลายลักษณะ แต่สามารถแบ่งประเภทตามลักษณะการก่อสร้างได้ดังนี้

รับสร้างเขื่อน
รับสร้างเขื่อน


กำแพงกันดิน


1. Gravity wall เป็นต้นแบบ และรูปแบบมาตรฐานของกำแพงกันดิน โดยจะใช้น้ำหนักของตัวกำแพงในการต้านแรงดันของดิน ถือว่าเป็นรูปแบบของกำแพงกันดินที่เก่าแก่ที่สุด เหมาะสำหรับกันดินในงานจัดสวน กันดินริมตลิ่งหรือเชิงเขาเพื่อป้องกันดินถล่มหรือดินสไลด์


2. Piling Wall เป็นกำแพงกันดินที่ต้องใช้เสาเข็มยาวตอกลงไปเป็นระยะตามแนวกำแพงกันดิน และใช้แรงดันจากดินใต้ระดับดินด้านที่ต่ำกว่าทั้งสองฝั่งในการรับแรงดันจากดินด้านที่สูงกว่า เหมาะสำหรับสร้างกำแพงกันดินในกรณีที่มีการจำกัดพื้นที่สำหรับทำงาน ไม่สามารถเข้าไปทำการก่อสร้างบริเวณฝั่งตรงข้ามได้


3. Cantilever Wall เป็นรูปแบบที่พัฒนามาจากหลักการของกำแพงกันดินแบบ Gravity Wall แต่เพิ่มคานด้านล่างยื่นเข้าไปในดินฝั่งที่มีระดับสูงกว่า เพื่อให้สามารถรับแรงดันได้ดียิ่งขึ้น เหมาะสำหรับป้องกันดินริมตลิ่งหรือเชิงเขาที่ต้องการความมั่งคงสูง




4. Anchored Wall เป็นกำแพงกันดินที่ใช้สมอยึดกำแพงเพื่อเพิ่มแรงต้านให้กับกำแพง สามารถประยุกต์ไปใช้สำหรับช่วยเพิ่มแรงต้านให้กับกำแพงกันดินรูปแบบอื่นได้ เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับแรงดันของกำแพงกันดินโดยเฉพาะกับกำแพงกันดินที่เราสร้างไว้แล้ว


สำหรับพื้นที่ที่ต้องการป้องกันของไหลจำเป็นที่จะต้องใช้กำแพงกันดินที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยจะต้องทำการขุดดินออกเพื่อหล่อกำแพงกันดิน จากนั้นจึงค่อยถมดินกลับในภายหลัง เพื่อให้ทึบน้ำและป้องกันการรั่วซึมได้ดียิ่งขึ้น แต่ในกรณีสำหรับที่ต้องการทำกำแพงกันดินเพื่อป้องกันการถล่มของดิน ถึงแม้ว่าจำเป็นจะต้องใช้กำแพงกันดินซึ่งเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อให้มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักจำนวนมหาศาลของดิน แต่ในการการก่อสร้างมีข้อแตกต่างออกไปคือต้องมีการคือ ต้องมีการเจาะรูเพื่อให้น้ำใต้ดินสามารถระบายออกได้ เพื่อลดปริมาณน้ำใต้ผิวดิน ซึ่งจะทำให้ดินมีน้ำหนักเพิ่มเกินกว่าที่กำแพงกันดินจะสามารถรับน้ำหนักได้


ในปัจจุบันในการก่อสร้างบ้านพักอาศัย หากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้กำแพงกันดิน เรามักจะได้เห็นการก่อสร้างกำแพงกันดินแบบง่ายๆ ด้วยการตอกเสาเข็มคอนกรีตรูปตัว I เป็นระยะเท่าๆ กัน แล้วใช้แผ่นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปสอด หรือขัดลงระหว่างช่องว่าง หรือร่องของเสาเข็ม จากนั้นจึงกดหรือตอกให้จมลงไปจนได้ระดับและแนวตามต้องการ ทั้งนี้การสร้างกำแพงกันดินในลักษณะนี้มีเรื่องที่ควรต้องระมัดระวังก็คือ จากรูปแบบที่ดูเรียบง่ายทำให้ผู้รับเหมาบางรายอาจเข้าใจผิดว่าการก่อสร้างกำแพงกันดินในลักษณะดังกล่าวสามารถทำทันที โดยจำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบหรือการคำนวณจากวิศวกร ซึ่งจะทำให้มีโอกาสเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดอันตรายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ในภายหลังมาตรฐาน